วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Module 5

วันนี้เรามาถึง บทที่ 5 กันแล้ว
ซึ่งบทนี้เป็นเรื่องของการประเมิน Assessing Student Projects
มีรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้
-Reflecting on Assessment in My Classroom
-Discussing the assessment plans
-Creating student assessments
-Creating an assessment for my student sample
-Assessment rubric

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทนี้ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ

26 ความคิดเห็น:

Teerasuda กล่าวว่า...

การสร้างเครื่องมือประเมินเริ่มชัดเจนมากขึ้น เหมือนประสบการณ์ตรงที่เคยอ่านงานของ อ.3 (เชิงประจักษ์ รุ่นที่ผ่านมา) พออ่านแล้วไม่สบายใจเพราะจุดประสงค์กำหนดไว้สวยหรู กิจกรรมดำเนินไปตามที่ครูต้องการให้เกิด แต่เครื่องมือไม่ได้ช่วยให้ทราบว่าการจัดกิจกรรมของครู บรรลุได้อย่างไร ก็เคยตั้งคำถามเขากลับไปว่า อาจารย์รู้ได้อย่างไรว่าเด็กบรรลุวัตถุประสงค์ ใช้เครื่องมือวัดตัวใด อยากจะบอกทุกท่านว่า นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในห้องเรียนและในวงวิชาการ ซึ่งครูจำนวนมาก(เท่าที่พบ) ไม่รู้ และไม่รู้ว่าจะมีโอกาสรู้หรือไม่ เราโชคดีค่ะที่อยู่ในจุดนี้

ธีรสุดา

ครูเมืองสามพราน กล่าวว่า...

กิจกรรมจับคู่ร่วมคิดในเรื่องการจัดทำแผนแล้วให้ย้อนกลับไปดูชิ้นงานว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ตอบคำถามสร้างพลังคิดได้หรือไม่ จะทำให้เราได้ความคิด คำแนะนำดี ๆ กลับมาปรับปรุงแผน และชิ้นงาน ทำให้ได้ชิ้นงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แถมมีการประเมินเข้ามาวัดทุกขั้นตอน ซึ่งต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะวัดอะไร วัดช่วงไหน

krumew กล่าวว่า...

ชอบกิจกรรม Focusing on My Assessment Plan มาก ได้มีการวางแผนเกี่ยวกับการประเมินอย่างชัดเจน ว่าประเมินอะไร เพื่ออะไร ช่วงเวลาไหน ซึ่งถ้านักเรียนได้เห็นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก็น่าจะช่วยกระตุ้นนักเรียนให้ตั้งใจมากยิ่งขึ้น

naruemol กล่าวว่า...

จาก v 5.4 ทำสร้างเกณฑ์การประเมินแบบต่างๆ เลย แต่ใน V.10 นี้มีการ การวางแผนการประเมิน (Discussing the assessment plans) ก่อน ซึ่งจะทำให้เรามองภาพได้ชัดว่าเราควรจะประเมินอะไร เมื่อไหร่ และให้ความสำคัญหรือน้ำหนักในส่วนในของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

naruemol กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Teerasuda กล่าวว่า...

สร้างแบบประเมินมันสุด คือพี่แดงค่ะ เสร็จแล้วก็เผื่อแผ่ไปยังน้อง ๆ น่ารักซะไม่มี อย่างนี้ต้องมีรางวัลนะครูอ้อย

ขวัญกมล จางวิริยะ กล่าวว่า...

ชอบในการสร้างเกณฑ์การประเมินใน V.10 นี้มีการ การวางแผนการประเมิน ทำให้เรามองภาพได้ชัดว่าเราควรจะประเมินอะไร เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วครูเราทำกันอยู่แล้ว แต่ทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้าจัดการอบรมจริง ๆ ครูที่เข้าอบรมคงชอบ เพราะแท้จริงแล้วเขาสามารถทำได้อยู่แล้ว ทำให้เกิดการวางแผนมากยิ่งขึ้น

ขวัญกมล จางวิริยะ กล่าวว่า...

ชอบในการสร้างเกณฑ์การประเมินใน V.10 นี้มีการ การวางแผนการประเมิน ทำให้เรามองภาพได้ชัดว่าเราควรจะประเมินอะไร เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วครูเราทำกันอยู่แล้ว แต่ทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้าจัดการอบรมจริง ๆ ครูที่เข้าอบรมคงชอบ เพราะแท้จริงแล้วเขาสามารถทำได้อยู่แล้ว ทำให้เกิดการวางแผนมากยิ่งขึ้น

ขวัญกมล จางวิริยะ กล่าวว่า...

ชอบในการสร้างเกณฑ์การประเมินใน V.10 นี้มีการ การวางแผนการประเมิน ทำให้เรามองภาพได้ชัดว่าเราควรจะประเมินอะไร เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วครูเราทำกันอยู่แล้ว แต่ทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้าจัดการอบรมจริง ๆ ครูที่เข้าอบรมคงชอบ เพราะแท้จริงแล้วเขาสามารถทำได้อยู่แล้ว ทำให้เกิดการวางแผนมากยิ่งขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในวันนี้ในเรื่องแบบประเมินเข้าใจมากยิ่งขึ้นละเอียดเห็นภาพตามแนวมาก
สาวสองทะเล

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

assessment Timeline เป็นการทำงานของครูที่รัดกุมมากสำหรับการจัดการเรียนการสอน แต่ครูไทยเราก็ยังไม่ชอบ เพราะบอกว่ามันเรื่องมากแต่ครูแอนก็เห็นด้วยนะ ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะประสบผลได้ ครูต้องมีการประเมินผลอยู่ในใจแล้ว

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

assessment Timeline เป็นการทำงานของครูที่รัดกุมมากสำหรับการจัดการเรียนการสอน แต่ครูไทยเราก็ยังไม่ชอบ เพราะบอกว่ามันเรื่องมากแต่ครูแอนก็เห็นด้วยนะ ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะประสบผลได้ ครูต้องมีการประเมินผลอยู่ในใจแล้ว

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

assessment Timeline เป็นการทำงานของครูที่รัดกุมมากสำหรับการจัดการเรียนการสอน แต่ครูไทยเราก็ยังไม่ชอบ เพราะบอกว่ามันเรื่องมากแต่ครูแอนก็เห็นด้วยนะ ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะประสบผลได้ ครูต้องมีการประเมินผลอยู่ในใจแล้ว

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

ขอโทษนะมือมันพาไปเลยส่งหลายครั้ง

เรียนรู้การคิดอย่างครูชาญ กล่าวว่า...

การสร้างแบบประเมินที่ดีจะต้องสอกคล้องกับวัตถุประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้และงานที่นักเรียนทำ และที่สำคัญนักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างรายการประเมินนั้น ๆ ด้วย ซึ่งสามารถกระทำได้ก่อนกิจกรรมการเรียนรู้

chayanyubol กล่าวว่า...

ทักษะใน Module 5 มีประโยชน์มาก เป็นส่วนทั้งนำทางและตรวจสอบระหว่างจนถึงประเมินผลการปฏิบัติตั้งแต่ต้นไปจนจบกระบวนการ ทำให้มองภาพการทำงานได้อย่างสมบูรณ์เป็นอย่างดี ข้อสำคัญผู้สร้างแบบประเมินต้องเข้าใจทุกขั้นของการจัดการเรียนรู้ได้อย่างดี มองภาพที่ต้องการจะให้เกิดต่อการเรียนรู้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมที่สุด นั่นแหละคือสิ่งที่การศึกษาปราถนาอยากให้เกิด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในการอบรมครั้งนี้ผ้เข้ารับการอบรมจะต้องมีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ปานกลางและระบบอินเตอร์เน็ตต้องดีมากๆด้วย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถึง ณ วันนี้ บทที่ 5 พอเห็นภาพราง ๆ ของ V10
* คน (ครู) ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการออกแบบการเรียนรู้ การใช้คอมพิวเตอร์ (เพราะด้วยระยะเวลาจาก 7 วัน เหลือเพียง 4 วัน คงสร้างความเครียดให้กับครูผู้เข้ารับการอบรม โดยเฉพาะ PT)แต่มีส่วนดีที่เมื่อเวลาเหลือเพียง 4 วัน ครูก็จะสมัครอบรมมากกว่า 7 วัน
* คอมพิวเตอร์ ต้องมีประสิทธิภาพสูง (ในเรื่อง Internet)
* นักเรียน ผ่านการเรียนรู้ตามมาตรฐาน และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพราะมีการกำกับดูแลตลอดเวลา (Time Line)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การได้แรกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดีในแต่ละกิจกรรม
สาวสองทะเล

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การประเมินผลเห็นแนวทางในการวัดตลอดเมื่อเราได้สร้างการวางแผนการประเมินได้เห็นภาพชัดเจนเป็นการปรับปรุงที่ดีขึ้นขอสนับสนุน แต่ต้องให้เวลากับครูที่เข้าอบรมให้มากกว่านี้
สาวสองทะเล

radda กล่าวว่า...

วันนี้สนุกมาก เข้าใจมากขึ้น
สำหรับเรื่องของการประเมิน เป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ดูเหมือนว่ามันเยอะ ในความเป็นจริง มันจะสามารถทำได้หมดจริงหรือ แต่ก็ยอมรับว่าถ้ามีการสร้างแบบประเมินที่ครอบคลุมเราก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้สมบูรณ์ขึ้นมาก

Unknown กล่าวว่า...

วันนี้ดีแต่พี่แหม่มก็ตามไม่ทันเหมือนเดิม เพราะเครื่องไม่อำนวยความสะดวกให้เลย เข้าเน็ตไม่ได้เลย

nadda18 กล่าวว่า...

Module 5 มันมาก ๆ สนุกสนานกับการทำแบบประเมิน วันนี้ทำให้มองเห็นวิธีการตรวจสอบการสอนของตนเอง และตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนได้ง่ายขึ้น หากเราวางแผนการประเมินดี ใช้วิธีการที่หลากหลาย ครูและนักเรียนก็สามารถก้าวไปพร้อม ๆ กันได้ ช่องว่างระหว่างครูและนักเรียนน้อยลง เกิดวินัยในตนเองได้ง่ายขึ้น (ทั้งครูและนักเรียน) ทั้งสองฝ่ายสามารถตรวจสอบตนเองได้ตลอดเวลา
ที่จริงการทำแบบประเมินไม่ยาก เพราะมีวิธีการที่หลากหลายให้เลือกใช้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่คุณจะนำข้อมูลจากแบบประเมินมาแปลผล และนำไปปรับปรุงการสอนและพัฒนาความก้าวหน้าของนักเรียนได้อย่างไร นี่ไง ที่ ดร.โกวิทย์พยายามบอกเราว่า การประเมินผล คือการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน ไม่ใช่ประเมินว่านักเรียนรู้เนื้อหาแค่ไหน
ยังมีข้อถกเถียงในหมู ST ด้วยกัน ว่า คะแนนนั้นสำคัญไฉน จะเสริมแรงนักเรียน หรือจะทำให้นักเรียนทำทุกอย่างเพื่อคะแนนมากเกินไปหรือเปล่า อันนี้ น่าจะอยู่ที่การนำมาใช้ของครูมากกว่า หากคำชมเชย คะแนน รางวัล จะทำให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้ ก็น่าจะนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และกลุ่มนักเรียนที่เหมาะสม

Unknown กล่าวว่า...

ได้รับความรู้ในการนำไปขยายผลชัดเจนขึ้น มีประโยชน์ รูปแบบการอบรมในเรื่องการวัดผลมีประโยชน์ดี

nadda18 กล่าวว่า...

ข้อดีของ Module 6 ทำให้เราเลือกออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับวิธีการเรียนร้ของผู้เรียน เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ผู้เรียนบางคนชอบทำมากกว่าชอบอ่าน บางคนชอบดูมากกว่าฟัง บางคนชอบฟังมากกว่าดูหรืออ่าน บางคนชอบอ่านคนเดียวเงียบ ๆ มากกว่าชอบทำงานกลุ่ม เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องออกแบบสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาน่าจะอยู่ที่ครูมากกว่า ว่า จะออกแบบสื่ออย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนร้ได้มากที่สุด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทที่6 ครู มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะ PT
การจัดการเรียนรู้ เป็นที่ศักยภาพของผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้
การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ น่าสนใจอยู่ทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรุปแบบของจับคู่ร่วมคิดและกระบวนการกลุ่ม
สื่อ ใช้ได้หลากหลาย สร้างตามศักยภาพผู้เรียน
สาวอันดามัน สาวสองทะเล และสาวหน้าดำ

สาวใต้เมืองสะตอ หรอยจังหู ใครไปเยือนได้กินบูดู ข้าวยำนะคะ