วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Module 6 แล้วค่ะ

เราเดินทางมาถึงบทที่ 6 Planning for Student Success แล้วค่ะ
ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมในบทนี้ด้วยนะคะ
-Creating accommodations for All learners
-Supporting Student self-direction
-Creating Support materials to facilitate student success

ขอบคุณค่ะ

15 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สื่อสนับ สนุน ลุ้นเร้าลึก
เด็กก็คึก คะนอง มองเห็นผล
สร้างหลากหลาย รูปแบบ แนบFileบน
Internet ทั่วทุกคน ค้นได้เลย

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ครูต้องศึกษาและนำมาใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง

naruemol กล่าวว่า...

โรงเรียนในฝันส่วนใหญ่ มี Modle ใช้ในการสร้างสื่อสนับ ใบความรู้ เว็บบอร์ดและสามารถส่งงานได้
---ทางเลือกที่ สอง คือ blog
แต่ท้ายสุดก้อไม่พ้น microsoft office
เมื่อ Server และเน็ตล่ม

ขวัญกมล จางวิริยะ กล่าวว่า...

สื่อสนับสนุนการเรียนเป็นอีกบทหนึ่งที่เวอร์ชันนี้ให้ความสำคัญมากกว่าเดิม โดยภาพรวมเวอร์ชันนี้ดีขึ้นกว่าเดิมให้ความสำคัญทุกบทที่เป็นภาระงานของครู ลดภาระงานที่ครูต้องเป็นนักเรียนลง เน้นการวางแผนมากขึ้น ทำให้ใช้ศักยภาพของครูเพิ่มมากขึ้น ครูผู้อบรมคิดมากขึ้น และต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังกังวลว่าจะใช้ได้กับทุกโรงเรียนหรือไม่..น่าจะมีการคิดวิธีการอื่นเผื่อไว้ว่าหากใช้วิกกี้กับบล็อกไม่ได้จะทำอย่างไร เผื่อว่า...จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

pewkhum กล่าวว่า...

ดีมากๆ เนื่องจากสื่อสนับสนุนการเรียนที่ครูสร้างขึ้นเป็นการสร้างตามความรู้และความสามารถของนักเรียน คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษก็จะมีสื่อที่พัฒนาเขาให้มีการพัฒนาศักยภาพที่สูงขึ้น ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะมีการพัฒนาศักยภาพอีกระดับหนึ่งเพื่อให้สามารถผ่านตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้

ครูเมืองสามพราน กล่าวว่า...

เป็นการออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่ต่างจากเดิมเพราะมีการอ้างอิงทฤษฎี และ การใช้เทคโนโลยีกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้มากกว่าจะเป็นการอ่านจากกระดาษ นักเรียนจะได้ Happy กับการเรียน และรู้สึกตื่นเต้นมากขึ้น(ใช่หรือเป่านะ)

Unknown กล่าวว่า...

ครูได้รูความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ครูสามารถเลือกสื่อมาให้เด็กใช้ได้เหมาะสม

chayanyubol กล่าวว่า...

ผลงานเก่าของนักเรียน จะสามารถนำมาเป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ช่วงก่อนคิดโครงงานได้หรือไม่ครับ

jaralk กล่าวว่า...

สร้างแบบประเมินได้อย่างสับสนดี

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

นวัตกรรมมิติการคิด...อย่างมีคุณภาพ

เป็นการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ ดังนี้ 1. ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences) ของ การ์ดเนอร์ ที่มีการพัฒนาการคิด แบบ พหุปัญญา 8 ด้าน คือ ด้านภาษา / ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ / ด้านดนตรี / ด้านการเคลื่อนไหว / ด้านศิลปะ มิติสัมพันธ์ / ด้านการสื่อสาร / ด้านความรู้สึกเข้าใจตนเอง / ด้านเข้าใจธรรมชาติ 2. กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ ไตรสิกขา แนวคิดของ ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นศีล การควบคุมตนเองให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปกติ ขั้นสมาธิ เป็นขั้น รวบรวมจิตใจให้อยู่จุดเดียว ขั้นปัญญา เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถใช้สมาธิในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนจนเกิดการเรียนรู้ 3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MATของนักการศึกษา McCarthy โดยประยุกต์แนวความคิดของ Kolb เกี่ยวกับการเรียนรู้และการทำงานของสมอง 2 ซีก ซีกซ้าย มีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำ วิเคราะห์ จัดลำดับ คำนวณ เหตุผลเชิงตรรกะ ซีกขวา มีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ศิลปะ ดนตรี มิติสัมพันธ์ การเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนใช้สมองซีกซ้าย และซีกขวาอย่างเท่าเทียม และสมดุล

เรียนรู้การคิดอย่างครูชาญ กล่าวว่า...

ในการทำสื่อสนุนหน่วยการเรียนรู้ V10 มีดีที่นำทฤษฎีการเรียนรู้เข้ามีใช้ด้วย

jaralk กล่าวว่า...

ใครอยากปวดหัวเพิ่ม ไปที่ jblog
http://jaralk.blogspot.com

radda กล่าวว่า...

สร้างแบบประเมินได้แล้วค่ะ แต่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไร

rawikul nilsakul กล่าวว่า...

ครูอ้อย ครูหมี วันนี้..ไปไหว้พระกันเถอะ

krumew กล่าวว่า...

สื่อสนับสนุนการเรียนที่เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ครูทุกท่านควรคำนึงถึง ยิ่งได้อ่านหนังสืออัจฉริยะสร้างได้ ของคุณหนูดี ยิ่งเห็นด้วยว่านักเรียนของเรา (หรือแม้แต่เราเอง) ก็พัฒนาความสามารถได้ โดยหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเรา

คำถามคือ ครูได้ค้นหาความสามารถในแต่ละด้านของนักเรียนหรือยัง แล้วหาทางพัฒนาอัจฉริยภาพในตัวนักเรียนได้อย่างไร